logo

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ปัสสาวะไม่ออก/ฉี่ไม่ออก (Urinary retention)

ปัสสาวะไม่ออก หรือ ฉี่ไม่ออก(Urinary retention) คือ อาการหรือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถถ่ายปัสสาวะออกได้หมดตามปกติ ส่งผลให้อาจไม่มีปัสสาวะออกเลยทั้งๆ ที่ปวดปัสสาวะ/เบ่งปัสสาวะเต็มที่แล้ว หรือ ปัสสาวะแต่ละครั้งปริมาณน้อยกว่าปกติมาก ลำปัสสาวะไม่พุ่ง ปวดปัสสาวะ/เข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน บางคนอาจมีกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ร่วมด้วย ปัสสาวะไม่ออกมี 2 ชนิด คือ

  1. ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน: อาการปัสสาวะไม่ออกเกิดทันที มักเกิดร่วมกับปวดปัสสาวะมากและปวดท้องน้อยมากเสมอ และอาจคลำได้ก้อนเนื้อซึ่งคือกระเพาะปัสสาวะที่ขยายใหญ่จากมีน้ำปัสสาวะคั่งที่อยู่ตรงกลางเหนือกระดูกหัวหน่าว จัดเป็น’อาการรุนแรง/ภาวะฉุกเฉิน’ ที่ต้องรีบนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที พบได้ทุกเพศทุกวัย
  2. ปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง: เป็นอาการไม่รุนแรง อาการจะค่อยๆ เกิดแต่ต่อเนื่องที่ส่งผลถึงคุณภาพชีวิต เช่น ปัสสาวะบ่อยเพราะปัสสาวะแต่ละครั้งมักปริมาณไม่มาก มักไม่มีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย และลักษณะลำปัสสาวะจะแตก ไม่พุ่ง บางครั้งอาจไหลซึมออกมาเอง หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • มีการอุดกั้น/อุดตัน/กดเบียดทับ กระเพาะปัสสาวะส่วนต่อกับท่อปัสสาวะ และ/หรือภายในในท่อปัสสาวะ และ/หรือที่ปากท่อปัสสาวะ
  • การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะและ/หรือของท่อปัสสาวะ:
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด: เช่น ยาแก้แพ้ ยากลุ่มแอนตี้มัสคารินิก ยารักษาโรคซึมเศร้า (TCAs) ยากลุ่มโอปิออยด์ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • อุบัติเหตุต่อกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และ/หรือ ระบบประสาทควบคุมเนื้อเยื่อ/อวัยวะในท้องน้อย เช่น ท้องน้อยถูกกระแทกรุนแรง
  • มีโรคสมอง หรือโรคไขสันหลัง หรือโรคเส้นประสาท ที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ: เช่น อัมพาต โรคหลอดเลือดสมอง ไขสันหลังอักเสบ โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • ผลข้างเคียงจากการตรวจและ/หรือการรักษาโรค: เช่น หลังส่องกล้องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ หลังผ่าตัดในช่องท้อง/ช่องท้องน้อย การผ่าตัดอวัยวะระบบทางเดินปัสสาวะโดยเฉพาะผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ หลังใส่ท่อปัสสาวะหรือคาท่อไว้เป็นระยะเวลานาน
  • ปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ/โรคจิตเวช ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ต้องการปัสสาวะจึงกลั้นปัสสาวะตลอดเวลา
  • กรณีมีน้ำปัสสาวะกักคั่งมากในกรณีปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน การรักษาโดยนำน้ำปัสสาวะออกต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ร่างกายอาจเสียน้ำและ/หรือเสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ จนอาจมีผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำจนอาจถึงขั้นเกิดภาวะช็อกได้
  • กรณีปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการเพิ่มความดันในระบบทางเดินปัสสาวะจนอาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้
  • การใส่สายสวนปัสสาวะ อาจเป็นสาเหตุเกิดโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ ได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดปัสสาวะไม่ออก โดยใช้ยาแต่เท่าที่จำเป็นตามแพทย์สั่งและควรรู้จักผลข้างเคียงหลักของยาทุกชนิดที่ใช้
  • กินอาหารมีกากใยสูงเพื่อป้องกันท้องผูกเรื้อรัง
  • สตรีทุกคนโดยเฉพาะที่มีบุตรควรฝึกกายภาพฟื้นฟูกล้ามเนื้อในช่องท้องน้อย ’ขมิบช่องคลอด’เพื่อลดโอกาสเกิดมดลูกหย่อน/กะบังลมหย่อน
  • ปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ เมื่อเริ่มรู้ตัวว่ามีปัญหาในการขับถ่าย